วิสัยทัศน์/พันธกิจ/เป้าประสงค์

วิสัยทัศน์
         มุ่งจัดการศึกษาที่มีคุณภาพระดับมาตรฐานสากลสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงบนพื้นฐานของความเป็นไทยและการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน

พันธกิจ
         1. จัดการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ผ่านกิจกรรมการปฏิบัติจริง (Active Learning)  เน้นทักษะกระบวนการให้เกิดการคิดวิเคราะห์ คิดแก้ปัญหา และการคิดสร้างสรรค์ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน ให้ผู้เรียนมีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21       
          2น้อมนำแนวพระราชดำริ และพระบรมราโชบาย มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนอย่างยั่งยืน ตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
          3. ส่งเสริมสนับสนุน ผู้ปกครอง ชุมชน สังคม และสาธารณชนให้มีความรู้ความเข้าใจ สร้างความตระหนักในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน และมีส่วนร่วมรับผิดชอบในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน


เป้าประสงค์
         1. ประชากรวัยเรียนทุกคนได้รับโอกาสในการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึง มีคุณภาพ และเสมอภาค
         2. จัดกิจกรรมทั้งในและนอกห้องเรียนที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอังพึงประสงค์ ตามหลักสูจรสถานศึกษา ตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
         3. เน้นการทำงานแบบบูรณาการ มีเครือข่ายแบบมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการจัดการศึกษา
         4. จัดการเรียนเชิงบูรณาการ แบบสหวิทยาการตามแนวทางสะเต็มศึกษา (STEM Education) เพื่อพัฒนากระบวนการคิดและการสร้างสรรค์นวัตกรรม เพื่อสร้างมูลค่าสอดคล้องกับประเทศไทย 4.0


ค่านิยมองค์กร

ค่านิยมองค์กร
โรงเรียนประถมศึกษาธรรมศาสตร์
ค่านิยมองค์กร
          1. การมีส่วนร่วม ( Participation ) : การที่จะนําพาองค์กรไปสู่ความยั่งยืนหรือมี วัฒนธรรมองค์กร   ที่เด่นชัดหรือชัดเจนได้นั้น การมีส่วนร่วมในองค์กรของข้าราชการครู และบุคลากร ทางการศึกษาทุกคนตั้งแต่ ผู้อํานวยการโรงเรียน ตลอดจน ครูในโรงเรียน ล้วนแล้วแต่มีความสําคัญและความจําเป็นอย่างยิ่ง เพราะหากขาดซึ่งความร่วมมือจากทุกฝ่ายใน องค์กรแล้ว ก็ยากที่จะพบเจอกับคําว่า องค์กรแห่งความยั่งยืน
          2. การเปิดใจกว้าง (Openness/Candor ) : สิ่งจําเป็นอีกประการหนึ่งในการเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้แข็งแกร่ง คือการมีคณะครู และบุคลากรทางการศึกษา ที่มีทัศนคติในการเปิดใจ กว้าง ยอมรับความเปลี่ยนแปลง และพร้อมจะยอมรับสิ่งใหม่ๆ หรือสิ่งที่เป็นนโยบายขององค์กร นําไปปฏิบัติอย่างจริงจัง  มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เกิดความยั่งยืนในองค์กร
          3. ความไว้เนื้อเชื่อใจ และการยอมรับ ( Trust and Respect) : การขับเคลื่อนองค์กร ความยั่งยืนหรือมีวัฒนธรรมองค์กรที่เด่นชัด คือ ความไว้เนื้อเชื่อใจ และการยอมรับในตัวบุคลากรใน องค์กร ผู้บริหารควร ไว้เนื้อเชื่อใจและยอมรับในความสามารถของบุคลากรภายในองค์กร ที่ตนเองได้ สัมภาษณ์หรือร่วมงานกับองค์กรด้วยตนเอง ต้องสร้างมิตรภาพที่ดีในหมู่ของคนทํางานไม่แบ่งชนชั้นในการทํางาน
          4. ข้อผูกพันหรือพันธะสัญญา (Commitment) : เสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรอย่างยั่งยืนนั้นครูทุกคนทุกระดับในองค์กรจะต้องมีข้อผูกพันหรือพันธะสัญญาร่วมกัน ว่าทุกคนจะมุ่งมั่นไปสู่ เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่องค์กรได้จัดตั้งไว้อย่างต่อเนื่องและไม่ล้มเลิกข้อผูกพันหรือพันธะสัญญา
          5. ปณิธานในการขจัดข้อขัดแย้ง (Conflict Resolution) : ยุดอดีต ยุดปัจจุบันหรือยุคอนาคตก็มีความขัดแย้งในองค์กรหรือในสังคม ก็ยังคงเป็นอุปสรรคประการสําคัญประการหนึ่ง ในการนําพาองค์กร ให้ฝ่าฟันไปพบกับความสําเร็จในการเป็นองค์กรที่มีวัฒนธรรมแห่งความยั่งยืนได้ ดังนั้น ผู้บริหารและคณะครูทุกคน จะต้องร่วมแรงร่วมใจ และร่วมด้วยช่วยกันที่จะขจัดปัดเป่าความขัดแย้งที่ มีอยู่ในทุกหนทุกแห่งในองค์กร ให้กลับกลายมาเป็นพลังแห่งความคิดสร้างสรรค์หรือความคิดเห็นต่าง แต่ไม่แตกแยกหรือแตกความสามัคคี
          6. ความเป็นเอกฉันท์หรือฉันทามติ (Consensus) : ผู้บริหารหรือนักบริหารงานบุคคล สามารถขจัดความขัดแย้งหรือเปลี่ยนความขัดแย้งให้เป็นความคิดที่สร้างสรรค์ให้เกิดขึ้นภายในองค์กร ได้แล้วนั้น ความเป็นเอกฉันท์หรือฉันทามติต่างๆ ทําให้การบริหารจัดการภายในองค์กรที่เกี่ยวกับการ เสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร เป็นไปอย่างง่ายดาย เพราะครูส่วนใหญ่ในองค์กรเห็นชอบและพูดเป็น เสียงเดียวกันหรือปฏิบัติในแบบอย่างเดียวกัน
          7. การตัดสินใจ (Decision Making) : การที่ผู้บริหารกล้าที่จะบอกกับครูทุกๆ คน หรือ กล้าที่จะแสดงพฤติกรรมต้นแบบ ( Role Model ) ให้กับครูได้เห็นเป็นตัวอย่างได้ มิใช่เพียงติด ประกาศ หรือแถลงเป็นนโยบายเท่านั้น รวมไปถึง การกล้าที่จะตัดสินใจ พิจารณาบริหารจัดการกับครู ซึ่งไม่ปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับวัฒนธรรมองค์กรที่ทุกคนได้มุ่งมั่นทุ่มเทในการแสดงพฤติกรรมให้ สอดคล้องกับวัฒนธรรมขององค์กร
          8. การรวมพลัง ( Synergy) : การเสริมสร้างความเป็นประชาธิปไตย คือ การรวมพลังของ ทุกคนในองค์กร หากรวมพลังกันหรือผนึกพลังกันหลายๆ คนแล้ว ก็สามารถมีพลังที่สามารถจะทํา อะไรให้ประสบความสําเร็จได้อย่างยอดเยี่ยม
          9. จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ (Goal and Objective) : องค์กรต้องมีจุดมุ่งหมายและ วัตถุประสงค์ที่ชัดเจน ในการกําหนดแนวทางหรือทิศทางในการบริหารองค์กร หรือวิสัยทัศน์ (Vision) การเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร ต้องมีการกําหนดจุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน ซึ่ง รวมไปถึงการสื่อสารและกิจกรรมที่ต่อเนื่องภายในองค์กร เพื่อหาทางออกหรือหลุดพ้นอุปสรรคที่เกิดขึ้น
         10. การเปลี่ยนแปลงและการพัฒนา ( Change and Development ) : องค์กรย่อมที่ จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาต่อไปตามกาลเวลาที่เปลี่ยนแปลงไป ตามยุดเศรษฐกิจที่ เปลี่ยนแปลงไป ผู้บริหารที่ต้องการจะเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรก็จะต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบและ พัฒนาการบริหารงานภายในองค์กรและการบริหารคนองค์กรให้มีองค์ประกอบครบทั้ง 9 ประการ ดังที่ได้กล่าวมาข้างต้นนี้  เพื่อองค์กรแห่งความยั่งยืน ( Sustainable Organization )